1.ดูที่หัวอ่าน (Fingerprint Scanner Sensor)
ว่าสินค้านั้นใช้หัวอ่านชนิดใด(ข้อนี้สำคัญมากที่สุดเพราะเทคโนโลยีของ
Fingerprint Scanner Sensor คือหัวใจของ เครื่องสแกนนิ้ว)
หากเป็นระบบที่ใช้กับคนน้อยๆ หรือ ใช้งานส่วนตัว เช่น ระบบ fingerprint
ในโทรศัพท์มือถือ,Mouse Log on เข้าคอมพิวเตอร์,Finger Lock
ลูกบิดประตูบ้านคอนโดมิเนียม ควรเลือกใช้หัวอ่านชนิดตัวเก็บประจุ
เพราะให้ระดับความปลอดภัยสูงกว่าเพราะมีเทคโนโลยีที่พิสูจน์ลายนิ้วมือที่มีชีวิตทำให้ปลอมแปลงได้ยาก
แต่หากเป็นการใช้งานกับคนหมู่มาก เช่น ระบบบันทึกเวลาการทำงาน (Time
Attendance) หรือ ระบบ ควบคุมการเข้าออก (Access Control) สำหรับ โรงงาน
บริษัท หรือระบบควบคุมประตูที่มีคนเข้าออกจำนวนมาก ควรใช้ Fingerprint
Scanner ชนิด Optical เพราะสามารถทำงานได้เร็วกว่าและให้ความแม่นยำและ
ระดับความปลอดภัยในระดับที่ยอมรับได้
2.ความเร็วในการอ่านลายนิ้วมือ เมื่อมีผู้ใช้จำนวนมากขึ้น
ปัจจัยในการพิจารณาหัวอ่านก็เปลี่ยนไป
เพราะถึงแม้จะใช้เทคโนโลยีของหัวอ่านสแกนลายนิ้วมือที่ดีกว่า เช่น
หัวอ่านลายนิ้วมือชนิดตัวเก็บประจุ
แต่ก็เหมาะกับระบบที่มีจำนวนผู้ใช้เฉพาะกลุ่มจำนวนน้อย
ไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยความเร็วในการใช้งาน
แต่หากต้องใช้กับผู้ใช้จำนวนมากและต้องการความเร็วในการเคลียร์คนเครื่องที่ทำงานได้ช้าจะไม่เหมาะสม
โดยปกติความเร็วในการสแกนของเครื่อง ที่ใช้ในระบบบันทึกเวลาการทำงานและ
ควบคุมการเข้าออกของคนจำนวนมากไม่ควรใช้เวลาในการ
Verifyลายนิ้วมือและแสดงผลเกิน 2 วินาที/คน ซึ่ง
ความเร็วของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ (finger scan Verification Time) ขึ้นกับ
กับ คุณสมบัติต่างๆของตัว เครืองสแกนนิ้ว
แต่ละรุ่นซึ่งมักจะระบุอยู่ใกล้เคียงกันที่ 1-2 วินาที
แต่ข้อเท็จจริงก็คือยิ่งเพิ่มจำนวนผู้ใช้ลงในเครื่องมากขึ้น
เครื่องจะทำงานช้าลงเพราะเป็นการตรวจสอบแบบ 1:N
3.หน่วยความจำ จำนวนลายนิ้วมือที่รองรับ และ จำนวน logs
ที่เก้บบันทึกได้ จำนวนลายนิ้วมือ และ จำนวนข้อมูล logs ที่บันทึกได้
ขึ้นกับขนาดของหน่วยความจำของเครื่อง
โดยเครื่องขนาดเล็กจะสามารถบันทึกลายนิ้วมือได้ตั้งแต่ 500-1,500
ลายนิ้วมือ บันทึกข้อมูล 30,000 ถึง 50,000 รายการ ขณะที่ เครื่องสแกนนิ้ว
รุ่นที่มีขนาดใหญ่จะรองรับข้อมูลลายนิ้วมือผู้ใช้ได้ตั้งแต่ 3,000 ถึง
10,000 ลายนิ้วมือขึ้นไป และ เก็บบันทึก logs ได้ 100,000 ถึง 200,000
รายการ ดังนั้นจึงต้องพิจารณารุ่นที่มีหน่วยความจำเหมาะสมกับขนาดการใช้งาน
4.Software ส่วนสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดของระบบคือ
โปรแกรมที่มากับตัวเครื่อง
ต้องดูว่ามีฟังก์ชั่นเหมาะสมครบครันกับการใช้งานและตรงกับวัตุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่
เช่นหากนำไปใช้กับระบบเล็ก หรือ ธุรกิจ SME ควรเลือกเครื่องสแกนนิ้ว
ที่มีโปรแกรม Time Attendance Management เบื้องต้นติดมาด้วย
เพราะโปรแกรมสำเร็จรูปนี้โดยมากมักฟรีมากับตัวเครื่อง และ
สามารถใช้กำหนดกะการทำงานที่ไม่ซับซ้อนมาก และ คำนวณ สถิติ ขาด ลา มาสาย
ชั่วโมง OT ให้เบ็ดเสร็จ หรือ
หากต้องการคำนวณออกมาเป็นค่าแรงอย่างง่ายก็ควรพิจารณาเครื่องรุ่นทีสนับสนับสนุนการทำงานแบบ
E-Clocking Application ที่สามารถดึงข้อมูลจากเครื่อง เข้า Microsoft
Excel แล้วคำนวณออกมาเป็นค่าแรงอย่างง่ายได้ทันที หรือ หาก
ติดตั้งใช้งานเป็นระบบใหญ่ ก็ต้องพิจารณาถึง Software
ที่สนับสนุนการทำงานแบบ Network และ รองรับฐานข้อมูลชนิด My SQL , SQL
Server ,Oracle และสามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรม Payroll ได้ เป็นต้น
5.ศูนย์บริการ และ ระยะเวลารับประกันสินค้า ควรพิจารณาซื้อเครื่องสแกนนิ้วจากบริษัทที่มีศุนย์บริการในพื้นที่
หรือสามารถส่งเครื่องและซ่อมแซมให้ได้สะดวก และ
มีระยะเวลาในการรับประกันสินค้าไม่ต่ำกว่า 2 ปีขึ้นไปโดยฟรีค่าบริการและ
ค่าอะไหล่ในช่วงระยะเวลารับประกัน มีเครื่องสำรองให้ระหว่างส่งซ่อม และ
มีการเสนอสัญญาซ่อมบำรุงให้ลูกค้า เป็นต้น
6.ราคา และ การติดตั้ง
ปัจจัยสุดท้ายที่ต้องพิจารณาก็คือราคา ซึ่งโดยปกติ
ราคาของเครื่องสแกนแต่ละยี่ห้อ แต่ละประเทศผู้ผลิตจะไม่เท่ากันอยู่แล้ว
โดยมีราคาตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหลายหมื่นบาท และ มีคุณภาพตามราคา
เครื่องที่คุณภาพดีย่อมมีราคาแพง แต่การจะพิจาณาว่าจะใช้เครื่องราคาแพง
หรือ ราคาถูกขึ้นอยู่กับสภาพความต้องการใช้งานของผู้ใช้มากกว่า เช่น
ถ้าจำนวนพนักงานน้อยๆ สิ่งแวดล้อมสะอาด จำนวนผู้ใช้ไม่มากนัก
อาจพิจาณณาเครื่องที่ ราคาไม่แพงมาก และไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพสูงได้
แต่หากใช้ในระบบใหญ่ๆ จำนวนคนมากๆต้องการความเร็วและความแม่นยำสูง
ก็ควรเลือกยี่ห้อที่มีราคาและคุณภาพสูงขึ้นมาเพื่อความเสถียรของระบบ และ
หากใช้ในระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดในระดับสูงสุด
ก็ควรเลือกเครื่องที่ดีที่สุดถึงแม้จะมีราคาสูงมากก็ตาม
ที่สำคัญเครื่องต้องได้รับการติดตั้งจากบริษัทที่ติดตั้งได้มาตรฐานสมราคา